นายกรัฐมนตรีคนที่3ของไทย
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ประวัติ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เดิมชื่อ แปลก ขีตตะสังคะ เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เป็นบุตรนายขีด และนางสำอางค์ ขีตตะสังคะ ภริยาคือ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม (เดิมนามสกุล "พันธุ์กระวี")
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนกลาโหมอุทิศ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี จากนั้นได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก กระทั่งสำเร็จการศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2459 ขณะอายุ 19 ปี โดยได้รับยศร้อยตรี และเข้าประจำการที่กองพลที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก จากนั้นไม่นานได้สอบเข้าโรงเรียนเสนาธิการได้เป็นที่ 1 และเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษา และกลับมารับราชการต่อไป กระทั่งได้ยศพันตรี มีบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ที่ "หลวงพิบูลสงคราม"
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พันตรี หลวงพิบูลสงครามได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร ในเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยได้เป็นกำลังสำคัญในสายทหาร และเมื่อปี พ.ศ. 2477 ท่านได้เลื่อนยศเป็นพันเอก และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก
ครั้นเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ท่านได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2484 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เป็นจอมพล แปลก พิบูลสงคราม (โดยได้ยกเลิกราชทินนามแบบเก่า)[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
จอมพล หลวงพิบูลสงคลาม (แปลก พิบูลสงคราม) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ดังนี้
- พ.ศ. 2484 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2485 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)[18]
- พ.ศ. 2484 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า) พร้อมสายสร้อยทองคำ[17]
- พ.ศ. 2483 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2480 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[20]
- พ.ศ. 2487 -
เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[21]
- พ.ศ. 2484 -
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[22]
- พ.ศ. 2486 -
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[23]
- พ.ศ. 2477 -
เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[24]
- พ.ศ. 2477 -
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[25]
- พ.ศ. 2486 -
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[26]
- พ.ศ. 2486 -
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[27]
- พ.ศ. 2500 -
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[28]
- พ.ศ. 2472 -
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2481 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[29]
- พ.ศ. 2496 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[30]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น